วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เมล็ดตำลึง แก้โรคหิด


ปัจจุบัน โรคหิดเป็นโรคที่สูญหายไปจากประเทศนานแล้ว แต่ในยุคสมัยก่อนโรคหิดเป็นโรคติดต่อที่น่ากลัวมาก ใครเป็นจะมีตัวหิดฝังอยู่ตามผิวหนังหรือเนื้อ มีแผลแตกบวม มีเลือดซิบ ๆ ตามง่ามมือง่ามเท้า เข้าสังคมไม่ได้ ถูกคนรังเกียจ เป็นแล้วทรมานมาก ซึ่ง ในยุคสมัยนั้นหมอยาพื้นบ้านมีวิธีรักษาคือ เอาเมล็ดตำลึง เป็นเมล็ดสดจากผลตำลึงสุก มากหรือน้อยตามแต่จะหาได้ ตำหรือโขลกละเอียดผสมกับน้ำมันมะพร้าวกะตามสายตาหรือหากไม่มีน้ำมันมะพร้าวสามารถใช้น้ำมะพร้าวแทนได้ จากนั้นใช้สำลีหรือผ้าขาวบางชุบเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นหิดวันละ 3-4 ครั้ง ทาประจำเรื่อย ๆ ตัวหิดจะตายและโรคหิดหายได้


ตำลึง หรือ COCCINIA GRANDIS (L.) VOIGT อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE เป็นไม้เลื้อย มีสรรพคุณทางวิชาการ ใบ แก้ไข้ โดยเป็นส่วนผสมในยาเขียว ราก แก้ไข้ ใบสด ขยี้ทาแก้คัน ถอนพิษปวดแสบปวดร้อน ถอนพิษอาการคันจากการถูกขนของใบตำแย ผล แก้เบาหวาน รายงานการทดลองในสัตว์ระบุสารสกัดจากเถาด้วยแอลกอฮอล์ น้ำคั้นผลดิบและผงใบแห้งมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ เมล็ดสด นำไปผสมน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมะพร้าวตามที่กล่าวข้างต้น เอาน้ำทาแก้โรคหิดดีมาก น้ำจากเถาสด หยอดตาแก้ตาแดงตาช้ำ ตาแฉะ ตาฟาง พิษอักเสบในตา ดับพิษแก้วิงเวียนศีรษะ และ หัว หรือเหง้าเป็นยาดับพิษทั้งปวงด้วย


มีชื่อเรียกอีกคือ สี่บาท, ผักตำลึง (ภาคกลาง) ผักตำนิน, ตำนิน (ภาคอีสาน) ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง)-แม่ฮ่องสอน) และตำลึง (ทั่วไป)


ความรู้เรื่องโรคหิด


โรคหิด (Scabies)


สาเหตุ


หิดเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากตัวไร Sarcoptes scabbier ที่มีขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น การติดเชื้อผ่านทางผิวหนังโดยไม่ต้องมีการสัมผัสใกล้ชิด โรคนี้ติดต่อกันง่าย พบได้ในทุกเพศทุกวัย มักพบว่าเป็นกันทั้งครอบครัวหรือระบาดในชุมชนที่มีสุขอนามัยไม่ดีพอ หิดไม่แพร่โดยทางหายใจหรือทางอาหาร


โรคหิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ และสามารถป้องกันไม่ให้ติดหิดได้ง่าย ๆ ด้วยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล



อาการ


1. ลักษณะผื่นเป็นตุ่มแดง มีลักษณะเป็นรอยนูนคดเคี้ยวคล้ายเส้นด้ายสั้นๆที่ผิวหนัง ความยาว 5 – 15 มม.
ต่อมาตุ่มแดงกลายเป็นตุ่มน้ำใส


2. ตุ่มแดงกระจายไปทั่วตัว พบมากตามง่ามมือ ง่ามเท้า ข้อพับ ข้อศอก รักแร้ ใต้ราวนม รอบหัวนม สะดือ
บั้นเอว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลูกอัณฑะ และอวัยวะเพศ ส่วนบริเวณผิวหน้าและศีรษะพบได้น้อย


3. อาการคันเกิดหลังจากการติดเชื้อแล้วประมาณ 24 ชั่วโมง


4. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เป็นโรคเอดส์, SLE, มะเร็ง เม็ดเลือดจะมีการขยายพันธุ์ของตัวไรเพิ่มขึ้น
มากมาย จนผื่นกลายเป็นสะเก็ดขุยพอกหนา ภายในสะเก็ดมีตัวหิดอยู่จำนวนมากทำให้แพร่เชื้อได้ง่าย


5. ผื่นมีอาการคันมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืนจะคันมากเป็นพิเศษ


6. พบผู้ป่วยในครอบครัวเดียวกันหลายคน



การรักษา


เมื่อเป็นหิดควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี ยาที่ใช้มีทั้งยาทาและยารับประทาน เพื่อแก้อาการอักเสบ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาคือ การทายาให้ถูกวิธีและรักษาพร้อมกันทั้งบ้าน


ยาทา


ยา gamma benzene hexachloride 0.3% - 1% gel หรือ cream ใช้ทาหลังอาบน้ำ โดยทาทั่วตัวตั้งแต่ระดับคอลงมาถึงปลายเท้าทิ้งไว้นาน 12 ชั่วโมง แล้วจึงอาบน้ำล้างออก ทาครั้งเดียว อาจมีอาการคันอยู่สักระยะหนึ่งไม่จำเป็นต้องทายาซ้ำ ถ้ายังไม่หายควรปรึกษาแพทย์


ยาทาชนิดน้ำเป็นซิลเบ็นโซเอด (benzyl benzoate) 12.5% สำหรับเด็ก และ 25% สำหรับผู้ใหญ่ และขี้ผึ้งผสมกำมะถันเหลือง (6-10% precipitated sulfur)


- ยาทาหลังอาบน้ำ ทาเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ คลุมทุกพื้นที่ของผิวหนังของร่างกายตั้งแต่ระดับคอลงมาถึง
ปลายเท้า ทาทุกซอกทุกมุม ตามซอกนิ้วมือนิ้วเท้าและใต้เล็บ เพื่อให้เนื้อยาเข้าถึงทุกจุด ทายาทิ้งไว้ 24
ชั่วโมง แล้วจึงอาบน้ำล้างออก ทำติดต่อกัน 3 วัน


- ในเด็กเล็กแพทย์จะกำหนดระยะเวลาการใช้ยาที่เหมาะสม


- ใช้ยาสตีรอยด์อ่อนๆ เช่น hydrocortisone cream 1% ทาวันละ 2 ครั้ง เพื่อช่วยลดอาการคัน


ยารับประทาน


- ถ้ามีอาการติดเชื้อของผิวหนัง จะให้ยาปฏิชีวนะ


- หากมีอาการคันมาก ให้รับประทานยาแก้แพ้ช่วยลดอาการคัน


- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ



การป้องกันและคำแนะนำในการปฏิบัติตน


1. การรักษาโรคหิด ต้องรักษาทุกคนในครอบครัวพร้อมกันไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่


2. ผู้สัมผัสโรคต้องใช้ยาเช่นเดียวกับผู้ป่วย ถึงแม้จะยังไม่มีอาการ หรือยังไม่มีตุ่มคันก็ตาม


3. ทำความสะอาดเสื้อผ้า เครื่องนอน เครื่องใช้ทั้งหมด โดยการต้มหรือนำออกตากแดด


4. ดูแลรักษาความสะอาดสถานที่พักอาศัย


5. รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลขั้นพื้นฐานให้ดี เช่น อาบน้ำถูสบู่วันละ 1-2 ครั้ง


6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยง หรืออยู่ใกล้ชิดกับบุคคลที่มีความเสี่ยง เช่น สถานที่กักขัง
สถานสงเคราะห์


7. หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ


8. รองเท้าควรล้างให้สะอาด และนำไปผึ่งแดด

5 ความคิดเห็น:

  1. ใช้ได้ผลจริงไหมค้ะ ต้องรักษาเวลานานเท่าไหร่ค้ะถึงจะเห็นผล ลูกชายเป็นอยู่ อายุ3ขวบเองค่ะเป็นห่วงมากเค้ายังเด็กกลัวเป็นไรมากกว่านี้😢😢😭

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ลูกชายหายยังคะ มีวิธีรักษาไหมพอดีลูกชายก็เป็นอยู่คะอายุ3ขวบเป็นห่วงมาก

      ลบ
  2. จำหน่ายเมล็ดตำลึง สนใจโทร 082 694 5116
    http://www.nasithome.com/product/64/เมล็ดตำลึง-แพ็ค-60-เมล็ด

    ตอบลบ
  3. มีอากาาคันที่ชอกนิ้วมือมตุ่ม จะคันตอนเย็นกลางคืน ผมแก้ปัญหาอาการคัน ใช้น้ำตาเทียนหยดใส่ในระยะที่ ใกล้ทื่สุด ก็บรรเทาอาการคันได้

    ตอบลบ
  4. ลูกชายเ็นอยู่ค่ะตอนนี้สงสารมาก​ กลางคืนจะคันมากมีตุ่มใสๆขึ้นตามซอกเท้าพอตุ่มแตกแล้วจะเป็นแผลพอแผลแห้งก็คันตลอดค่ะ​ หมอให้ยาน้ำสีขาวมาทาตั้งแต่คอจนถึงเท้าเช้าค่อยอาบน้ำล้างออก​ ก็ยังไม่หายไม่รู้จะรักษาด้วยวิธีไหนค่ะ

    ตอบลบ